ต้นคิดวิธีลอกลาย หรือการนำกระดาษไขมาวางทับกับต้นฉบับหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น
แล้ววาดเส้นทาบตามจนเกิดเป็นอีกเล่มที่หน้าตาเหมือนกัน จากนั้นก็ตัดแปะคำแปลภาษาไทยลงไป
และในปีพ.ศ. 2510 คุณพ่อได้ก่อตั้งหนังสือ การ์ตูนเด็ก ภายใต้นามปากกา ไพบูลย์ วงศรี
ร่วมกับหุ้นส่วนคือ คุณทศพร ไพฑูรย์วงศ์วีระ แปลและวาดการ์ตูนญี่ปุ่นจากต้นฉบับ
โดยคัดแต่เรื่องดังๆ ในสมัยนั้น จนเกิดเป็นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นเล่มแรกของประเทศไทย โดย
การ์ตูนเด็ก ฉบับที่ 1 วางจำหน่ายเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2510 ราคาเล่มละ 2 บาท มีการ์ตูน
เจ้าหนูลมกรด (Shounen Ninja Kaze no Fujimaru)
เป็นการ์ตูนเรื่องดังประจำเล่ม ซึ่งการ์ตูนเด็กได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จัดพิมพ์ต่อเนื่องได้ 13 ฉบับ ในปีพ.ศ. 2511
คุณพ่อไพบูลย์จึงแยกตัวออกมาจัดทำนิตยสาร
การ์ตูน TV ด้วยความที่รู้จุดแข็ง
จุดอ่อนในวงการอย่างดีจึงปรับปรุงโฉมหน้า โดยเฉพาะปกการ์ตูน TV แต่ละปกได้ถูกใจจนเป็นที่นิยมของเด็กๆ
ในสมัยนั้น ต่อมาได้มาร่วมงานเขียนการ์ตูนให้ สำนักพิมพ์ประมวลสาส์น และบรรลือสาส์น มีผลงานจัดทำการ์ตูนญี่ปุ่น
แนวพระเอกฮีโร่มากมายอย่างเช่นเรื่อง
หน้ากากเสือ, ไอ้มดแดงอาละวาด, ยอดมนุษย์อุลตร้าแมน, กาโม่มนุษย์กายสิทธิ์,
หน้ากากสิงห์ และ อื่นๆ อีกมากมายหลายร้อยเล่ม รวมถึงการ์ตูนแนวสยองขวัญของฝรั่งอีกเกือบ 100 เล่ม
(ผมขอเติมตรงนี้ให้เพิ่มเติม เช่น ช็อค สยอง เขย่าขวัญ กังฟู (พิภพวานร) หลังจากนั้นคุณพ่อมีข้อขัดแย้งกับหุ้นส่วน จึงได้แยกตัวออกมา และไม่กลับเข้ามาในวงการการ์ตูนอีกเลย
แต่เข้าสู่วงการโทรทัศน์แทนในฐานะนักเขียนบทละครและบทภาพยนตร์ ช่วงปีพ.ศ. 2530-2531
ร้านให้เช่าม้วนวิดีโอกำลังเป็นที่นิยม คุณพ่อจึงได้เปิดร้านให้เช่าวิดีโอด้วย ชื่อร้าน
เพื่อนวิดีโอ ในตลาดกรมชลประทาน จ.นนทบุรี และขยายกิจการเป็นสร้างภาพยนตร์ไทยให้กับศูนย์เช่าอีกด้วย
โดยมีผลงานบทละครโทรทัศน์แนวละครพื้นบ้าน หรือ จักร์ๆ วงศ์ๆ หลายเรื่อง เรื่องที่ดังที่สุดคือ
มายาเทวี (2534) ออกอากาศทางช่อง 3 นำแสดงโดย สุนทรี ละม่อม ส่วนผลงานบทภาพยนตร์ อาทิ
ปอบผีฟ้า (2533) นำแสดงโดย แซม ยุรนันท์ ภมรมนตรี และ
บุญมี ไอ้หมาวัด (2534) นำแสดงโดย ตูมตาม วศิน มีปรีชา
หลังจากเป็นนักเขียนบทละครได้ไม่นาน คุณพ่อรับคำท้าเพื่อนให้ลองเขียนนวนิยาย จึงเกิดเป็นนวนิยายเรื่องแรก
อมฤตา เทพธิดาจอมซน ลงตีพิมพ์เป็นตอนๆ ในนิตยสาร











