วัดสระเกศนั้นเคยเป็นที่ตั้งเมรุเผาศพชาววังที่ตายในกำแพงพระนคร ต้องนำศพออกมาเผานอกกำแพงพระนคร โดยถือเอา
คลองโอ่งอ่างเป็นเส้นแบ่งเขต เว้นแต่สนามหลวง และวัดบวรนิเวศวิหาร ยังให้เป็นที่เผาศพได้ คือ สนามหลวงเป็นที่พระราชทานเพลิงศพพระบรมราชวงศ์ และสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ส่วนวัดบวรนิเวศวิหารก็เคยเป็นที่เผาศพขุนนางผู้ใหญ่ สถานที่ตั้งเมรุวัดบวรนิเวศวิหารคือสถานที่ตั้งพระอุโบสถ แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว เว้นแต่สนามหลวง
เมื่อนำศพออกมาจากกำแพงพระนครชั้นใน เพื่อมาเผาที่วัดสระเกศ ประตูที่นำศพออกเรียกว่า
ประตูผี คนรู้จักกันดี แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น
แยกสำราญราษฎร์ นำศพข้ามคลองโอ่งอ่างก็มาเผาที่เมรุปูน
วัดสระเกศข้อมูลของวัดสระเกศว่า
เมรุปูนวัดสระเกศ ปัจจุบันคือที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร เป็นเมรุเกียรติยศ ที่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้
สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่ครั้งยังเป็น
พระยาพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นนายสร้างเมรุ สร้างด้วยอิฐปูนล้วนเรียกว่า
“เมรุปูน” สำหรับพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายและศพข้าราชการผู้ใหญ่ แต่เมื่อเมรุตั้งติดถนนและอาคารบ้านเรือน จึงไม่เหมาะที่จะทำการฌาปนกิจศพ ดังนั้นเมรุเกียรติยศจึงได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส และได้ยุบเลิกเมรุปูนเสีย แต่ชื่อยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ (ต่อมาทางวัดได้มอบสถานที่นั้นให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนช่างไม้ เรียกว่า “โรงเรียนช่างไม้วัดสระเกศ” ต่อมาเปลี่ยนเป็น ”โรงเรียนสารพัดช่างพระนคร” และปัจจุบันเป็น “วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร”)
แม้จะย้ายเมรุเกียรติยศไปแล้ว แต่ศพสามัญชนได้ตั้งและเผาที่เมรุซึ่งตั้งอยู่ข้างบรมบรรพต เป็นเมรุทำด้วยไม้ เมื่อ พ.ศ. 2498 สมัย
เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชญาโณทยมหาเถระ ครั้งทรงสมณศักดิ์เป็น
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้ทรงสร้างเป็นเมรุถาวรก่ออิฐถือปูนพร้อมด้วยศาลาใหญ่ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 8 แสนบาทเศษ ปัจจุบันคือ
ฌาปนสถานคุรุสภาวัดสระเกศส่วนศพที่มาตั้งหรือทิ้งที่วัดสระเกศในอดีต จนกลายเป็นเหยื่อของอีแร้ง เพราะเผาไม่ทันนั้น เกิดในช่วงที่โรคห่าระบาดในพระนคร คนตายกันมากจนเผาไม่ทัน ซึ่งโรคระบาดนี้เกิดในรัชกาลที่ 2 ที่ 3 และที่ 5

เมรุปูน วัดสระเกศ
ที่มา
https://www.posttoday.com/life/life/419949